วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

จริยธรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

จริยธรรมทางอิเล็กทรอนิกส์


         จริยธรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Ethics) คือ กติกา กฎเกณฑ์ มารยาทที่เป็นแนวทางปฎิบัติหรือควบคุมการใช้อุปกรณ์และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อหลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจจะละเมิดบุคคล  โดยเป็นหลักการที่ผู้ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์  ยอมรับร่วมกันว่าเป็นแนวทางที่เหมาะสมและถูกต้อง ในอันที่จะไม่ปฎิบัติให้กระทบกระเทือนในลักษณะการละเมิดต่อความเป็นส่วนตัว ความตรงไป ตรงมาในข้อมูล ตลอดจนสิทธิอันชอบธรรมของบุคคลอื่น
          การขาดจริยธรรมของบุตตลล้วนแต่ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อตนเองและสังคมรอบด้าน  การขาดจริยธรรมทางด้านการใช้คอมพิวเตอร์ การกระทำนั้นไปละเมิดบุคคล หรือละเมิดต่อแบบแผน จารีตประเพณี ความเชื่อแล้ว ย่อมทำให้ได้รับการรังเกียจจากสังคม แต่ถ้าถึงขั้นก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง อาจจะมีบทลงโทษทางกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องในการกำหนดบทลงโทษหนักเบา อาจจะขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี

จริยธรรมในระบบสารสนเท



          จริยธรรม (Ethics) หมายถึง ความประพฤติ หรือพฤติกรรมของบุคคลที่เกิดขึ้นในลักษณะที่ดีเหมาะสม ถูกต้อง ตามบรรทัดฐานของสังคมที่ดี และยอมรับได้กับการกระทำนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ละเมิดบุคคลอื่น หรือละเมิดสังคม องค์กร จนทำให้เกิดความเสียหาย

          ปัญหาที่เป็นความกังวลที่ทั่วโลกกำลังสนใจ และหาแนวทางแก้ไขกันอย่างเร่งด่วนในยุคนี้ คือ ปัญหาโลกร้อน โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหัน แผ่นดินถล่ม ภัยพิบัติจากสึนามิ นี้ก็เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของปัญหาที่เกิดขึ้นจากการขาดคุณธรรม และจริยธรรมของมนุษย์
          ดังนั้น เพื่อให้สังคมในการดำรงอยู่ สังคมการดำเนินธุรกิจ การประกอบอาชีพ ในสาขาต่างๆ ไม่ให้มีการทำลายตัวเอง ทำลายสังคมมากขึ้น การดำเนินธุรกิจนั้นไม่เกิดความเสียหาย ละเมิดต่อบุคคลและสังคม และเพื่อให้เกิดความยุติธรรม เกิดความถูกต้องแก่อาชีพของตน ต่อองค์กร หรือหน่วยงาน ต้องมีการกำหนดกฎเกณฑ์ หลักการ มาตรการ เพื่อเป็นแนวทางในการปฎิบัติงานของตนขึ้นอย่างเหมาะสมต่ออาชีพ เพื่อยกระดับวิชาชีพให้สูงขึ้น และเป็นที่ยอมรับของผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ใช้บริการ
          ในปัจจุบัน ประชากรเริ่มให้ความสนใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกันมาขึ้น จนกลายเป็นวิถีในการดำเนินชีวิตไปแล้ว มีการใช้เครื่องหมายสื่อสารด้านคอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลาย บางครั้งไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมการใช้ได้ บางครั้งนำไปใช้อย่างผิดศีลธรรม โดยหลักการแล้วสามารถแยกลักษณะการใช้เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ที่เข้าข่ายการะละเมิดไว้ 4 ประการ ได้กล่าวไว้ดังนี้

          1.หลักส่วนบุคคล (Privacy)
          2.หลักความจริงของข้อมูล (Data Accuracy)
          3.หลักสิทธิส่วนตัว (Intellectual Property)

          กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้กำหนดแนวทางการคุ้มครอง ดูแลไม่ให้ได้รับการละเมิดสิทธิ์ไว้พอที่จะเป็นแนวทางในการศึกษาได้ ดังนี้
          

          1. สิทธิบัตร (Privilege Card) ในความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ให้ความหมายไว้ว่า สิทธิบัตร คือ หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ตามที่กำหนด โดยกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตร


          2.ความลับทางการค้า (Trade Secrets) คือ ข้อมูล เทคนิค หรือรายละเอียดทางการค้าที่ยังไม่เปิดเผยให้เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป หรือยังเข้าถึงไม่ได้ โดยข้อมูลดังกล่าวจะเกี่ยวข้องที่เป็นประโยชน์ในเชิงการค้า การพาณิชย์ ในการทำธุรกิจ ต้องมีการคิดค้น พัฒนาผลิตภัณฑ์และกลยุทธ์ต่างๆ


         3.ลิขสิทธิ์(Copy Right) หมายถึง สิทธิของบุคคลแต่เพียงผู้เดียวของผู้สรรค์งานนั้น  อาจเป็นงานด้านวรรณกรรม ศิลปกรรม งานด้านภาพยนต์ โดยมีสิทธิในการเนินการใดๆ ได้โดยมีสิทธิได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายคุ้มครองสิทธิ


          การคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 เรื่องการคุ้มครองสิทธิ ได้กำหนดนื้อหาที่สำคัญไว้ ดังนี้
       
          มาตรา 15 ภายใต้บังคับมาตรา 9 มาตรา 10 และมาตรา 14 เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียว โดยมีรายละเอียดดังนี้

        1. ทำซ้ำ หรือดัดแปลง
        2. เผยแพร่ต่อสาธารณชน
        3. ให้เช่าต้นฉบับ หรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนต์ และสิ่งบันทึกเสียง
        4. ให้ประโยชน์อันกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น
     5.อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตาม 1,2 หรือ 3 โดยกำหนดเงื่อนไขอย่างใดหรือไม่ก็ได้ แต่เงื่อนไข ดังกล่าวจะกำหนดในลักษณะที่เป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมได้

          ส่วนที่ 4          อายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์  ได้กำหนดไว้ใน

          มาตรา  19  ภายใต้บังคับมาตรา  21  และมาตรา  22  ดังนี้
          ลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ให้มีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์  และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลาห้าสิบปี  นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย  ในกรณีที่มีผู้สร้างสรรค์ร่วมลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าว  ให้มีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ร่วม  และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลาห้าสิบปี  นับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย

          พฤติกรรมการใช้ระบสารสนเทศ


      ในยุคปัจจุบัน เครื่องมือและอุปกรณ์ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด และเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเทคโนโลยีข้ามามีส่วนช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันของมนุษย์เกือบทุกด้าน การเข้าถึงขอมูล ข่าวสาร เข้าถึงสินค้า ผลิตภัณฑ์ และสิ่งที่ต้องการได้มากขึ้น ทั้งยังตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว  ขณะเดียวกันก็มีการนำข้อมูลที่มีอยู่บนโลกอินเทอร์เน็ตมาใช้ และหาประโยชน์ในลักษณะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์กันมากขึ้น ควบคู่กับการเจริญเติบโตของเทคโนโลยีด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะผู้ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมด้สนบันเทิง ภาพยนต์ เพลง อุตสาหกรรมทางด้านคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะโปรแกรมซอฟแวร์ต่างๆ ก็ได้รับผลกระทบจากการละเมิดลิชสิทธิ์เหล่านั้น แม้ว่าอุตสาหกรรมดังกล่าวจะได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย มีบทลงโทษที่รุนแรงและมีระยะเวลาให้สิทธิคุ้มครองที่ยาวนานก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุม และปราบปรามผู้มราละเมิดลิขสิทธิ์นั้นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ


          ประเภทของการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์


          ในสมัยปู่ย่า ตายาย ยังเป็นวัยรุ่นกัน บ้านเมืองยังทุรกันดาร การเดินทางติดต่อกันต้องใช้เวลาแรมเดือน ทั้งๆที่ระยะทางก็ไม่ไกลมากนัก โดยเฉพาะการส่งจดหมายไปถึงญาติพี่น้อง จะมองเห็นได้อย่างชัดเจนว่า กว่าจดหมายจะไปถึงปลายทางได้ จะใช้เวลาหลายวันมาก หรือบางครั้งจดหมายส่งไปไม่ถึง เนื่องจากอุปสรรคนาๆ ประการ ต่อมาวิทยาการเจริญก้าวหน้ามาเรื่อยๆ จากการส่งจดหมายธรรมดา ก็มีการส่งแบบรองรับ แบบด่วนพิเศษ ต่อมาก็มีการส่งโดยโทรเลข โทรสาร การติดต่อทางโทรศัพท์ที่มีสาย ต่อมาก็มีโทรศัพท์แบบไร้สาย และปัจจุบันก็เป็นมือถือ อันทันสมัยอย่างเช่นในปัจจุบัน

          การติดต่อสื่อสารก็เจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง จนมาถึงยุคคอมพิวเตอร์ที่ใช้ติดต่อกันทางอินเทอร์เน็ต มีการเชื่อมโยงเครือช่ายเป็นระบบ Net work หรือบางกลุ่มเรียกว่าระบบใยแมงมุมที่ครอบคลุมเชื่อมโยงต่อกันเป็นตาราง หรือตาข่ายกันทั่วโลก ระบบอินเทอร์เน็ต นี้ทำให้มนุษย์ติดต่อกันได้มากขึ้น เร็วขึ้น ง่ายขึ้น แม้จะอยู่ห่างไกลกันคนละมุมโลกก็สามารถติดต่อกันได้ทันที ทั้งภาพ เสียง ข้อความ ลักษณะนี้จึงเกิดปรากฎการณ์เคลื่อนย้ายข้อมูล ข่าวสารกันทั่วโลก จนทำให้รู้สึกว่าโลกแคบลงไปถนัดตา เพราะความทรงประสิทธิภาพของระบบการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์นั้นเอง ระบบอินเทอร์เน็ตนี้มีจุดกำเนิดครั้งแรกที่ ประเทศสหรัฐอเมาริกา เป็นที่นิยมและขยายการใช้ไปทั่วโลก โดยในที่นี้จะขอแบ่งลักษณะการติดต่อสื่อสารกันทางอินเทอร์เน็ตโดยอาศัยอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีเข้ามาช่วย และโปรแกรมซอฟต์แวร์ทางด้านการสื่อการที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ดังนี้

        1. การสื่อสารแบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One on One) หมายถึง การสื่อสารหรือส่งข้อมูลจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง โดยเป้าหมายเฉพาะตัว ให้ตรงตัว เช่น การส่ง Mail ไปยังเพื่อน เพื่อแจ้งข่าวสารบางอย่าง หรือส่ง E-mail ไปยังญาติที่อยู่ต่างประเทศ ที่อยู่ห่างไกล โดยมีการนำ URL ที่อยู่ของผู้รับ E-mail อย่างชัดเจน ตรงตัวเช่นเดียวกับการจ่าหน้าซองจดหมายทางไปรษณีย์นั่นเอง


        2. การสื่อสารปัจเจกชนกลุ่มบุคคล (Individual to the Nation)  คือการส่งข้อมูล  หรือการติดต่อจากบุคคลเดียว  ไปยังกลุ่มบุคคลหลายคน  หรือหลายกลุ่มในเป้าหมายเดียวกัน  โดยการส่งข้อมูลลักษณะนี้ในระบบ  Internet  สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งเป็นลักษณะที่นำ  URL  หรือที่อยู่ของ  E-mail  หลายๆ  URL  มาทำการส่งออกไปพร้อมกัน  ยกตัวอย่าง  ครูผู้สอนนักศึกษาต้องการส่งตารางสอนให้นักศึกษาให้ทราบพร้อมกัน  ก็สามารถส่งข้อมูลดังกล่าวให้นักศึกษาได้หลายสิบคนในเวลาพร้อมกัน

       3. การสื่อสารแบบ  Social  Network  คือ  การส่งสารที่ติดต่อสื่อสารแบบกระจายข่าวสารไปยังกลุ่มกลุ่มสมาชิกได้ไม่จำกัดจำนวนโดยฐานข้อมูลจะมีการเปิดกลุ่มสมาชิกเข้าไปเขียน  บันทึกข่าวสารการประชาสัมพันธ์ต่างๆ  ได้อย่างอิสระ  ปัจจุบันระบบ  Social  Network  กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก  โดยเฉพาะผู้ประกอบการทางธุรกิจจะนำช่องทางนี้มาประยุกต์ในการทำการตลาด  การประชาสัมพันธ์สินค้า  การสร้าง  Brand  สร้างกลยุทธ์การขาย  ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  แลัะต้นทุนต่ำ  หรือแทบจะไม่มีค่าใช้จ่ายเลย

       4. การสื่อสารแบบสองทาง  (Two-ways  Communication)  คือ  การสื่อสารแบบสองทางเป็นลักษณะที่อยู่ส่งสารออกไป  และได้รับการตอบรับกลับมาโดยทันทีโดยอาจจะมีการพิมพ์ข้อความหรือภาพออกไป  ฝ่ายรับจะรับข้อความแล้วทำการตอบกลับมาโดยทันทีเช่นเดียวกัน  โดยลักษณะนี้จะเห็นได้จากการส่งข้อมูลแบบที่เรียกว่า  ออนเอ็ม (On M) หรือ MSN

      5. การสื่อสารเฉพาะกิจ  (Separate  Communication)  คือ  การใช้ระบบ  Internet  เพื่อการติดต่อกับหน่วยงาน  หรือสถานที่ที่อยู่ห่างไกล  โดยเข้าไปยัง  Web  Site  ขององค์กรตามเป้าหมาย  เพื่อติดต่อในลักษณะเป็นทางการในภารกิจเฉพาะเรื่อง  เช่น  การจองตั๋วเครื่องบินทางอินเทอร์เน็ต  การจองตั๋วชมภาพยนต์ทางอินเทอร์เน็ต  หรือการจองห้องพักโรงแรม  เป็นต้น

      6. เสิร์ชเอ็นจิน  (Search  Engine)  คือ  การติดต่อสื่อสาร  เพื่อการสืบค้นหาข้อมูลที่ต้องการบางอย่าง  ที่อยู่ห่างไกล  เพื่อจะเป็นข้อมูลในการหาความรู้  การเตรียมตัววางแผนการเดินทาง  สืบค้นหาข้อมูลเพื่อการศึกษา  หรือข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ต่างๆ  โดยสามารถเข้าไปสืบค้นยังระบบ  Web  Site  ต่างๆ  การสืบค้นลักษณะนี้เรียกว่า  Search  Engine  หรือภาษาชาวบ้านที่เรียกว่า  เสิร์ชหาข้อมูลนั้นเอง

     จริยธรรมทางคอมพิวเตอร์



      จริยธรรมเป็นเหมือนปรัชญา  หรือนโบายขององค์กรที่ต้องกำหนดไว้  เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ที่อยู่ในสาขาอาชีพนั้นนำไปปฏิบัติในทางที่ดี  ในการทำงาน  พร้อมเป็นการยกระดับความน่าเชื่อถือในอาชีพเหล่านั้น  
       จริยธรรมนั้นประกิบด้วย  สภาพการเป็นตัวตนของบุคคล  และวิถีชีวิตที่มีมาจากสังคม  วัฒนะธรรม  และความเชื่อที่เป็นกระบวนการอันเกิดจากครอบครัว  สังคม  จารีต  ประเพณี  และแนวทางความเชื่อทางศาสนา  ที่เกิดจากสถาบันครอบครัว  และสถาบันของสังคมมาเป็นตัวผสมผสานจนกลายเป็นจุดศูนย์กลางของจริยธรรม  ที่เป็นตัวตนของมนุษย์นั้นเอง  โดยสาระของการเกิดขึ้นของจริยธรรม  ต้องคำนึงถึงความต้องการ  ความเหมาะสม  ความเป็นจริง  ความยุติธรรม  และคุณภาพตลอดจนสิทธิของความเป็นมนุษย์  สิ่งที่สำคัญ  เพื่อต้องการให้มีการปฏิบัติอย่างเหมาะสมแกฐานะในการเป็นมนุษย์  และเหมาะสมในอาชีพมี่ควรจะเป็น  เพื่อความน่าเชื่อถือ  ในฐานะผู้ประกอบอาชีพและบุคคล  ให้เป็นที่ยอมรับในสังคมทั่วไป

        ความหมายของจริยธรรมคอมพิวเตอร์     

     จริยธรรมทางคอมพิวเตอร์  คือ  หลักจริยธรรม  มารยาทที่ได้เขียนขึ้น  กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติร้วมกัน  ในขณะเดียวกันก็เป็นการควบคุมพฤติกรรมการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์  และสารสนเทศไม่ให้ไปละเมิดบุคคล  หรือองค์กรอื่น ๆ  จนได้รับความเสียหาย
       แต่จริยธรรมดังกล่าวก็ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม  หรือสภาพสังคมนั้น ๆ พิจารณาว่ายอมรับในพฤติกรรมนั้นมากน้อยเพียงใด  เพราะลักษณะความผิดนั้น  อาจจะแตกต่างกันด้วย  เหตุผลที่แตกต่างกันเช่น  ประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม  อาจจะมีจริยธรรมในการเข้าถึงภาพ  เสียง  ในระบบคอมพิวเตอร์เข้มงวดมากกว่าประเทศในแถบยุโรป  หรือประเทศที่นับถือศาสนาคริสต์  เป็นต้น
        จริยธรรมในการประกอบอาชีพนั้น  ก็เพื่อให้อาชีพเหล่านั้นได้รับการยอมรับ  มีค่ามาตรฐานน่าเชื่อถือ  เป็นที่น่าศรัทธา  เป็นที่พึ่งของสังคมได้  ในขณะเดียวกันสังคมก็มองว่ามีมาตรฐานที่ดีสูงส่ง  ยิ่งถ้าเป็นองค์กรธุรกิจ  ถ้านำจริยธรรมขององค์กรมาปฏิบัติได้ดี  จนเป็นที่ยอมรับของสังคมมากย่อมทำให้ผู้บริหารยอมรับในสินค้าและบริการ  แนวโน้มของผลประกอบการย่อมมีโอกาสที่มีปริมาณที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ  และมีอนาคตที่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้อย่างไม่ลำบาก
        การดำเนินธุรกิจจำเป็นอย่างยิ่งด้องมีการกำหนดเป้าหมาย ที่ต้องรับผิดชอบต่อสังคม เรียกว่านโยบายคืนกำไรสู่สังคม เช่น การที่บริษัทเบียร์ช้าง ไปมอบผ้าห่ม และอุปกรณ์กันหนาวให้แก่ชาวเขา หรือตามแหล่งชนบทที่ทุรกันดารนั้น ก็เป็นตัวอย่างที่เป็นนโยบายจริยธรรมที่รับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร แสดงความจริงใจในการช่วยเหลือสังคม ไม่ใช่มุ่งแต่จะสร้างกำไรเพียงอย่างเดียว เพราะองค์กรถือว่าสังคมอยู่ได้ สังคมอยู่ไม่ได้องค์กรอยู่ไม่ได้ ถ้าไม่ดูแลสังคมอาจทำให้สังคมมองว่า เป็นการเอาเปรียบสังคมมากเกินไป ทำให้ผู้บริโภคมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อองค์กรไม่ศรัทธา ไม่เชื่อถือองค์กร และอาจส่งผลไปถึงผลประกอบการในอนาคตด้วย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องมองและให้ความสำคัญต่อจริยธรรมและคุณธรรมในการดำเนินธุรกิจอย่างแท้จริง
         ดังนั้น การนำนโยบายเรื่องจริยธรรม คุณธรรมที่รับผิดชอบต่อสังคม ขององค์กรมาเป็นโจทย์เพื่อนกำหนดนโยบาย ในการวางแผนธุรกิจนั้น สามารถทำให้บริษัทประสบความสำเร็จมากที่สุด ที่เห็นเป็นรูปธรรมเด่นชัดที่สามารถพิสูจน์ได้มากที่สุด คือ บริษัท ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอร์ริ่ง ที่เป็นผู้นำนโยบายรับผิดชอบต่อสังคม ในเรื่องลดภาวะโลกร้อน และลดมลพิษทางอากาศ โดยการผลิตรถมอเตอร์ไซค์ประหยัดพลังงาน และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมเป็นเจ้าแรก รถที่ออกมาสู่ตลาด เป็นมอเตอร์ไซค์ฮอนด้าเวฟ 125 cc ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี ทำให้บริษัทประสบความสำเร็จอย่างมาก
    การที่องค์กรธุรกิจใช้ประโยชน์ทางด้านความรับผิดชอบต่อสังคม โดยนำจริยธรรมมาเป็นเรื่องกำหนดที่ควบคู่กับนโยบายในการดำเนินธุรกิจ ยอมสร้างความพึงพอใจให้แก่กลุ่มผู้บริโภคและสร้างคามภักดี สร้างความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างมาก ทำให้หลายองค์กรกำลังให้ความสนใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่รักษาสังคมและสิ่งแวดล้อมควบคู่กับนโยบายในการทำการตลาดต่างก็ได้รับการตอบรับที่ดีเช่นกัน
        การผลิตรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงจากแก๊สธรรมชาติ หรือแม้แต่การใช้พลังงานไฟฟ้า การผลิตสินค้าย่อยสลายง่าย สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นตัวอย่างเรื่องจริยธรรมที่องค์กรกำหนดขึ้น เพื่อรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม หรือเราอาจจะมองเห็นได้อีกอย่างคือ เรื่องจริยธรรมในการโฆษณาสินค้า และบริการที่มีข้อกำหนดออกมาในเชิงปฎิบัติ ที่น่าชืนชมหลายอย่าง หลายประเภทที่หน่วยงานต่างๆ ให้ความสนใจในเรื่องจริยธรรมและคุณธรรม เช่น บางครั้งการโฆษณาสินค้าบางอย่างในทีวีจะมีภาพบุหรี่ หรือสุราแทรกเข้ามา แต่ก็มีการยกเว้นไม่เผยแพร่ภาพเหล่านั้น ก็เป็นนโยบายในเรื่องจริยธรรม รับผิดชอบต่อสังคมในด้านดีของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ยอมรับในกติกาที่ดีร่วมกัน และยังมีหลายหน่วยงานที่ดำเนินธุรกิจ ได้กำหนดแนวทางในการนำมาเป็นหลักปฎิบัติไม่ให้ผิดจริยธรรม บางบริษัทได้กำหนดกรอบในการดำเนินการด้านจริยธรรมไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้
       - กำหนดระเบียบว่าด้วยการผลิตสินค้าและบริการ ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ได้มาตราฐานตามระดับสากล และมีหน่วยงานตรวจสอบคุณภาพที่เชื่อถือได้
       -  ผลิตภัณฑ์และบริการนั้นต้องมีรายละเอียดที่ชัดเจน ถูกต้องอย่างครบถ้วน ตามความเป็นจริง
    - ขั้นตอนการผลิตสินค้า ต้องปฎิบัติตามจริยธรรมและจรรยาบรรณที่ได้กำหนดไว้ เช่น ต้องเป็นไปตามคุณภาพที่ได้กำหนดไว้ ตามหลักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนหลักการตลาด จนทำให้เกิดศรัทธาต่อภาพรวมขององค์กร
            - การบริการต่อการขาย ขณะขาย และหลังการขาย ต้องมีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ เท่าเทียมกัน
          - เมื่อผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้น เกิดข้อบกพร่อง ชำรุด คุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ต้องรีบแก้ไข แสดงความรับผิดชอบให้ถูกต้องโดยด่วน
          - กำหนดและแสดงอายุ ระยะเวลาการใช้งานของสินค้าไว้อย่างถูกต้อง และชัดเจน ครบถ้วน
          - วัตถุดิบที่นำมาเข้าสู่กระบวนการผลิตต้องได้มาตรฐาน ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ และมีองค์กรหรือหน่วยงานรับรองตามความเป็นมาตรฐานนั้น

           สังคมในยุคการสื่อสารไร้พรมแดน หรือเรียกว่า ยุคสื่อสารสารสนเทศ เป็นยุคแห่งการเชื่อมโยงข่าวสาร เนื้อหา องค์ความรู้กันได้มากและซับซ้อนมาขึ้น จึงเป็นประโยชน์และสามารถอำนวยความสะดวกเป็นอย่างมาในการหาข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ โดยอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าวมาเป็นอุปกรณ์ในการค้นคว้า และความสามารถของเทคโนโลยีนี้เองที่หน่วยงานภาคธุรกิจสนใจทีจะนำมาใช้ประโยชน์ในการช่วยการดำเนินกิจกรรมทางด้านธุรกิจมากที่สุด ในการหาข้อมูลสินค้า ความเคลื่อนไหวในตลาด ข้อมูลของคู่แข่ง การหาจุดแข็ง จุดด้อยของคู่แข่ง ตลอดจนการเข้าไปหาความลับของคู่แข่ง โดยไม่คำนึงถึงมารยาทของจริยธรรมและกฎหมายที่บังคับอยู่ โดยอาศัยความได้เปรียบของความทันสมัยในเทคโนโลยี ความฉลาดของบุคคลากร บางครั้งก็อาศัยช่องว่างของกฎหมาย ในการปรับใช้เทคโนโลยีมาเอาเปรียบคู่แข่ง และเอาเปรียบผู้บริโภค โดยหวังเพียงผลกำไรที่เข้ามาสู่องค์กรของตน และไม่คำนึงถึงคุณธรรมและจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ
            ในการกระทำที่ขาดจริยธรรมนั้น จะนำมาซึ่งปัญหาสังคมที่อาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ปัญหาการบริโภคสินค้าที่ด้อยคุณภาพ ปัญหาด้านสุขภาพของผู้บริโภค ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาการว่างงาน ปัญหาอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ ล้วนเกิดขึ้นจากการขาดจริยธรรมของบุคคลและการขาดจริยธรรมด้านการดำเนินธุรกิจแทบทั้งสิน

              สาเหตุของปัญหาจริยธรรมในธุรกิจ สามารถที่จะแยกประเภทได้ดังนี้

        - การเห็นประโยชน์เฉพาะตน การเห็นแก่ประโยชน์เฉพาะตนเอง โดยมองแค่ประโยชน์ และคุณค่าที่ตนเองจะได้รับ โดยไม่ใส่ใจหรือสนใจว่าจะเกิดความเสียหายแก่บุุคลอื่น และองค์กรอื่น หวังเพียงลดต้นทุน มองกำไร และความร่ำรวยแก่ตัวเองและกิจการ
       - แรงกดดันจากการแข่งขันที่รุนแรง การแข่งขันในการทำธุรกิจ จำเป็นต้องเป็นเรื่องธรรมดา และนับวันจะมีอัตราการแข่งขันที่สูงขึ้น เพราะผู้ประกอบการมีมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนผู้บริโภคเองก็มีความภักดีต่อสินค้าลดลง จึงทำให้ผู้ประกอบการหาวิธีสร้างแรงจูงใจให้ผู้บริโภคเข้ามาสนใจในผลิตภัณฑ์มากขึ้น
       - วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร การกำหนดนโยบายการผลิตสินค้าก็มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อจริยธรรมในคการรับผิดชอบต่อสินค้า หรือการมีความรู้ที่ไม่ถูกต้อง หรือคลาดเคลื่อนต่อกระบวนการผลิต หรือไม่เข้าใจกระบวนการผลิต อาจส่งผลให้สินค้าเป็นอันตรายหรือขาดความรับผิดชอบต่อสังคมได้เช่นกัน

         ผลจากการขาดคุณธรรมจริยธรรมจะทำให้เกิดปัญหาต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากมาย จะกลายเป็นผลสะท้อนกลับเป็นผลร้ายกลับมาตอบแทนต่อมนุษย์และสภาพแวดล้อมส่วนรวม เช่นเกิดภาวะโลกร้อน อากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาน้ำท่วม แผ่นดินไหว เกิดสึนามิและอื่นๆ อีกมากมายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้อีกอย่างไม่คาดฝัน

            อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์          

            อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer crime or cyber crime)  หมายถึง การกระทำความผิดหรือพฤติกรรมที่ทำให้บุคคลอื่นเกิดความเสียหาย โดยอาศัยอุปกรณ์เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์
             การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปแล้วบุคคลที่มีพฤติกรรมอย่างนี้ได้ จะเป็นบุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางระบบคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับชำนาญการ เป็นผู้ที่มีการศึกษามาทางด้านนี้โดยเฉพาะ จึงทำให้เวลาที่เกิดปัญหาอาชญากรรมด้านนี้จึงทำให้การสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่หาข้อมูลในการนำหลักฐานมาลงโทษผู้กระทำความผิดได้อย่างค่อนข้างลำบาก แต่อย่างไรก็ตามก็มีงานที่ติดตามการกระทำความผิดดังกล่าวและแยกรูปแบบของการกระทำความผิดเบื้องต้น ดังนี้
   
    -Data Diddling หมายถึง การแก้ไขข้อมูลในระบบสารสนเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือแม้ได้รับอนุญาตก็ตาม โดยทำการแก้ไขข้อมูลบางอย่างในระบบเพื่อเอื้อประโยชน์ของตนและประโยชน์อื่นๆ ที่พิสูจน์ได้
 
     -Trojan Horsหมายถึง การเขียนโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ในลักษณะแอบแฝงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็นประจำ ให้เข้าใจว่ามีประโยชน์โดยจะปรากฎขึ้นว่าลักษณะที่ผู้ใช้เข้าใจว่ามีประโยชน์ แต่กลายเป็นโปรแกรมที่เข้าไปรบกวน หรือทำลายข้อมูลเดิมจนเกิดความเสียหายในระบบคอมพิวเตอร์
   
    -Trap  Doors หมายถึง การเขียนโปรแกรมที่คล้าย หรือใกล้เคียงกับหน้าจอปกติของระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อหลอกลวงผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่เข้ามาใช้งานแล้วกรอกรหัสข้อมูลส่วนตัว อาจจะเป็น ID Numbar (รหัสประจำตัวผู้ใช้) และ Password (รหัสผ่านเข้าสู่ระบบ) โดยเมื่อทราบข้อมูลแล้ว จะทำการเก็บไว้ในไฟล์ลับเฉพาะต่อไป
     
  - Data  Leakage หมายถึง การกระทำให้ข้อมูลรั่วไหลจากระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งที่โดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม โดยคนร้ายจะทำการติดตั้งระบบในการกักเก็บข้อมูล อาจจะเป็นลักษณะคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือการผ่รังสีก็ตาม เพื่อให้ได้ข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ตามที่ต้องการ
   
    - Wiretapping หมายถึง การติดตั้งเครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการดักฟัง หรือรับสัญาณเพื่อให้สัญญาณนั้นผ่านเข้ามาในระบบสัญญาณที่ตั้งเอาไว้ ในลักษณะเข้าถึงข้อมูลนั้นได้ตลอดเวลา

     - การละเมิดลิขสิทธิ์ ปลอมแปลง แก้ไขระบบซอฟต์แวร์ โดยมิชอบของบุคคลอื่น เพื่อนำมาหาประโยชน์ส่วนตัว
     -  การใช้ หรือการแก้ไขระบบคอมพิวเตอร์ ในลักษณะการแอบแก้ไขข้อมูล เพื่อโอนเงินในบัญชีบุคคลอื่นเข้าบัญชีที่เอื้อประโยชน์แก่ตนเอง
           -     การดักหรือแทรกแซง เพื่อค้นหารหัสบัตรเครดิตของบุคคลอื่น เพื่อเข้ารหัสบัตรในการหาผลประโยชน์มาสู่ตนเอง และพวกพ้อง
            -    การหลอกลวงให้บุคคลอื่นร่วมลงทุน ร่วมหุ้นในการทำธุรกรรมทางอเล็กทรอนิกส์ ในลักษณะฉ้อฉล
           -  การเข้าถึง หรือแทรกระบบทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจ
           -  การก่อกวนหรือใช้โปรแกรมเข้าไปทำลาย หรือก่อกวนระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
           -  พฤติกรรมการโอนทรัพย์สินทางคอมพิวเตอร์ ในลักษณะการยอกย้อน ฟอกเงิน
          - การลักลอบในการบันทึก หรือเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร ในข้อมูลบุคคลอื่น ไปในทางเสื่อมเสีย และละเมิดสิทธิส่วนตัวของบุุคคลอื่น

          การเจาะระบบ (Hacking)  หมายถึง การเข้าไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต โดยอาศัยการปลอมแปลงรหัสเข้ามาสู่ระบบ แล้วจะทำการลบ แก้ไขข้อมูล ขโมยข้อมูล หรือทำให้ระบบข้อมูลเสียหาย

           การเจาะระบบข้อมูลเป็นการมาหาข้อมูลที่เป็นความลับทางการค้า การแก้ไขเปลี่ยนแปลงระบบข้อมูลทางบัญชี การเงิน หรือแม้แต่การเข้ามาโอนเงิน หรือทรัพย์สินของบุคคลอื่นเข้าบัญชีของตน หรือบางครั้งจะมีผู้เชียวชาญในระบบคอมพิวเตอร์ที่เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขึ้นมา ซึ่งเป็นโปรแกรมที่เข้ามาแก้ไขข้อมูล ดัดแปลงได้ เรียกว่า "ไวรัส" โดยไวรัสคอมพิวเตอร์ดังกล่าว ครั้งแรกเพียงแต่เป็นแนวความคิดในนวนิยายเท่านั้น แต่ต่อมาได้มีผู้คิดค้นโปรแกรมไวรัสขึ้นมาจริงๆ โดยนักศึกษาปริญญาเอทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเซาท์เทิร์น รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยนาย fred Cohen เมื่อปี ค.ศ. 1983 (พ.ศ. 2526)
            โปรแกรมไวรัสนี้ จะเข้าไปทำลายและลบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ และมีการใช้และถ่ายโอนข้อมูลไปสู่เครื่องอื่นๆ จะทำให้โปรแกรมไวรัสตัวนี้ ขยายเข้าไปสู่ระบบนั้นๆ ได้อย่างรวดเร็ว เปรียบเสมือนไวรัสที่กระจายเข้าสู่สัตว์ต่างๆ คนส่วนมาจึงเรียกว่า Computer  Virus จึงทำให้ชื่อ Virus กลายเป็นชื่อที่คนในวงการคอมพิวเตอร์คุ้นเคยดี และจะคอยระวังในการใช้งานอย่างเข้มงวดตลดมา หลังจากนั้นเป็นต้นมาจะมีผู้ที่ผลิต Virus นานาชนิดออกมามากมาย ทั้งๆที่ไม่เป็นที่ต้องการข้องผู้บริโภค ซึ่ง Virus จะมีชื่อแตกต่างกัน เช่น Pakistani Macintosh Scoves Kegpress เป็นต้น
   
         พฤติกรรมเข้าข่ายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์บางครั้ง อาจจะมีพฤติกรรมมราเข้าข่ายในการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจจะมีผลในทางกฎหมายที่บ่าศึกษา ดังนี้
         
               - ประเภทจิตผิดปกติ (Darned Person) คือ คนที่มีพฤติกรรมแปลกๆ จิตวิปริต ชอบความรุนแรง มีความโกรธอย่างรุนแรง และชอบทุบตี ทำลายสิ่งของเป็นประจำ เวลาใช้งานระบบคอมพิวเตอร์จะมีพฤติกรรมไปในทางละเมิดบุคคลอื่น
     
         - กลุ่มมือใหม่ (Novices) คือ เป็นบุคคลที่เพิ่งเข้ามาใช้ computer ใหม่ๆ อยากศึกษาทดลอง ทดสอบความสามารถของตน โดยมีพื้นฐานของเป้าหมาย ไม่มีเจตนาจะละเมิดให้เกิดผลเสียหาย และไม่หวังผลในทางหาผลประโยชน์ในระบบแต่อย่างใด
           
       - อาชญากรอาชีพ (Career Criminal) คือ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีเป้าหมายเป็นอาชญากรคอมพิวเตอร์โดยตรง เป็นกลุ่มที่พยายามศึกษา เรียนรู้วิธีการเพื่อเข้าไป Cracker ในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเข้าไปค้นหาและจารกรรมข้อมูลต่างๆ ตลอดเวลา
             
            -   กลุ่มคลั่งอุดมการณ์ คือ กลุ่มที่มีความเชื่อบางอย่างเกี่ยวกับลัทธิ เพื่ออุดมการณ์ ทางการเมือง อุดมการณ์ทางศาสนา เศรษฐกิจ และจะเข้าไปก่ออาชญากรรมในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อข้อมูลในการวางแผนการก่อการร้ายในหน่วยงานที่ที่สำคัญของฝ่ายตรงข้าม

              -   นักเจาะข้อมูล (Hacker) คือ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีค่านิยม หรือพยายามท้าทายความรู้ ความสามารถของตนเอง โดยการใช้เทคนิคทางเทคโนโลยี เข้าไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ของบุุคลอื่น โดยตนเองไม่ได้รับอนุญาต

                นอกจากนี้ ยังพบว่า การกระทำความผิดต่อจริยธรรมทางคอมพิวเตอร์ และสารสนเทศนั้นยังมีลักษณะเฉพาะ เช่น ผู้กระทำผิดส่วนใหญ่มักเป็นผู้ที่มีอายุยังไม่บรรลุนิติภาวะ กลุ่มที่มีอาชีพเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ หรือแม้แต่พวกที่มีความต้องการอยากชนะ และแสดงความสามารถเพื่อพิสูจน์ตนเอง เป็นต้น

               การป้องกันการ Hacker ข้อมูล หมายถึง การใช้เทคนิค วิธีการในการสกัดกั้น ไม่ให้ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือไม้ได้รับอนุญาตให้เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศนั้น


                 จึงขอแนะนำวิธีการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลทางระบบคอมพิวเตอร์ในเบื้องต้น ดังนี้

              - การเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต ควรใช้ User Name (User ID) และรหัสผ่านที่ยากต่อการคาดเดา หรือสุ่มใช้ได้ง่าย หรือหลังจาการใช้แล้วควรเปลี่ยนรหัสผ่าน (Password)
               - ควรหลีกเลี่ยงการกำหนดรหัสผ่าน (Password) โดยตั้งเป็นชื่อ วันเดือนปีเกิด หรือสิ่งที่คาดเดาได้ง่าย
               - การทำธุรกรรมการค้าทางระบบอินเตอร์เน๊ต ควรพิจารณาในการใช้งานเบื้องต้น ดังนี้

1. ขณะใช้ Wed Site ต้องระวังเรื่องไวรัสคอมพิวเตอร์
2. การเข้าสู่เครือข่ายอื่นๆ หรือการเชื่อมโยงไปสู่ระบบ อย่าให้ข้อมูลซ้ำโดยไม่จำเป็น
3. การโอนเงินผ่านระบบ Internet ต้องการตรวจสอบให้ชัดเจนก่อนการทำธุรกรรม
4. เมื่อมีระบบอัตโนมัติแจ้งเข้ามาในการทำธุรกรรมการค้าบน Internet ต้องพิจารณาและตรวจสอบข้อมูล     ให้รอบคอบ
5. เมื่อมี Spam หรืออีเมลขยะเข้ามาในระบบ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ Delete ในระบบ Spam นั้นทันที
6. การ Upload หรือ Download  ข้อมูล เพลง ภาพยนต์ ต้องระวังไวรัส และการ Hacker เข้ามาในระบบ          ขณะใช้งาน

          จริยธรรมทางคอมพิวเตอร์เป็นแต่เพียงแนวทางในการปฎิบัติ เพื่อเป็นแนวทางในการใช้งารในระบบคอมพิวเตอร์ที่รับผิดชอบต่อตนเอง ต่อบุคคล ต่อสังคมส่วนรวม โดยเฉพาะบทลงโทษต่างๆ ในการที่จะกำหนดบทลงโทษผู้กระทำความผิดต่อการใช้คอมพิวเตอร์ การพัฒนาเทคโนโลยี ด้านคอมพิวเตอร์ มีการพัฒนาก้าวหน้าตลอดเวลา และพวกอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ก็พัฒนาความสามารถเพื่อเข้ามาโจรกรรมข้อมูลเช่นเดียวกัน ด้วยเทคนิคที่ซับซ้อนในการเข้าสู่ระบบ จนเกิดความเสียหายนั้น บางครั้งกฎหมายก็ไม่สามารถเอาผิดกับบุคคลผู้มีพฤติกรรมดังกล่าวได้ เพราะการหาหลักฐานมาผูกมัดผู้กระทำความผิดนั้นค่อนข้างลำบาก

                ดังนั้น ในฐานะผู้ใช้งาน และผู้ทำงานองค์กร หน่วยงานที่ต้องการเก็บข้อมูล ความลับที่สำคัญไว้ในระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ ต้องมีการพัฒนาวิธีการเก็บซ่อนข้อมูลนั้นให้ปลอดภัย และหามาตรการที่เข้มงวดในการไม่ให้บรรดา Hacker เข้ามายังฐานข้อมูลได้ อันจะทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อบุคคล และหน่วยงาน การป้องกันที่ดีที่สุดคือ ผู้ใช้งานในระบบปฎิบัติการนั้นเอง


                   คำถาม
       1.  จริยธรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Ethics) คืออะไร
       2.  การเจาะระบบ (Hacking)  หมายถึงอะไร